กรณีศึกษาเรื่อง “สารพันธุกรรม (DNA)”
สารชีวโมเลกุลที่ประกอบเป็นสิ่งมีชีวิตแม้ในรูปแบบที่ง่ายที่สุดก็ยังมีความซับซ้อนใช่เล่น
เซลล์ในรูปแบบพื้นฐานที่สุดมีชั้นกรดไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดเรียงตัวสองชั้น (bilayer) เป็นเยื่อหุ้มเซลล์
ภายในบรรจุสารละลายที่ประกอบไปด้วยโปรตีนหลายชนิด
โปรตีนเหล่านั้นประกอบด้วยกรดอะมิโนมาเรียงต่อกันเป็นสายยาวเป็นโพลีเป็บไทด์น้ำหนักโมเลกุลหลักพันขึ้นไป
ยังไม่รวมถึง “สารพันธุกรรม” DNA หรือ deoxyribonucleic
acid สารชีวโมเลกุลซับซ้อนที่เรียงตัวต่อกันจากหมื่นหน่วยย่อยขึ้นไป
หากมันเกิดขึ้นจริง นักชีวเคมีพอจะคาดการณ์ได้ว่า
น่าจะมีลำดับเหตุการณ์สำคัญๆ (Key steps) ดังนี้
1. การสังเคราะห์โมเลกุลเดี่ยว (Abiotic
synthesis of monomers เช่น amino acids, nucleotides)
2. การรวมตัวกันของพวกโมเลกุลเดี่ยวเป็นโพลีเมอร์ (Polymerization of monomers เช่น protein, nucleic acids)
3. การรวมกันของพวกโพลีเมอร์แล้วมีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว (เช่น membrane selectivity, permeability) และอาจมีการสะสมพลังงานในตัว
4. การเกิดขึ้นของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
2. การรวมตัวกันของพวกโมเลกุลเดี่ยวเป็นโพลีเมอร์ (Polymerization of monomers เช่น protein, nucleic acids)
3. การรวมกันของพวกโพลีเมอร์แล้วมีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว (เช่น membrane selectivity, permeability) และอาจมีการสะสมพลังงานในตัว
4. การเกิดขึ้นของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น