การทดลองของสแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley
Miller)
สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller)
ประเด็นของแนวคิดที่ว่าสิ่งมีชีวิตบังเกิดขึ้นเองบนโลกก็คือ
ในเมื่อบนโลกนี้มีวัตถุดิบพร้อมและมีคุณสมบัติเหมาะสมทุกประการที่เอื้อให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงบังเกิดขึ้นเองบนโลกนี้ การทดลองที่มีชื่อเสียงตามแนวคิดนี้คือการทดลองของสแตนลีย์
มิลเลอร์ (Stanley Miller) เมื่อปี ค.ศ. 1953 มิลเลอร์ทำการทดลองโดยนำขวดแก้วสองใบ
ใบหนึ่งใส่น้ำเล็กน้อยเปรียบเสมือนมหาสมุทรในยุคดึกดำบรรพ์ อีกใบผสมก๊าซมีเทน
แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ จำลองบรรยากาศโลกยุคดึกดำบรรพ์ นำสายยางเชื่อมต่อทั้งสองขวด
แล้วใช้ไฟฟ้าเร่งปฏิกิริยา สิ่งที่ได้คือสารอินทรีย์ง่ายๆ เช่น กรดอะมิโน กรดไขมัน
น้ำตาล การทดลองดังกล่าวพอสรุปได้ว่า
สารเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตสามารถบังเกิดขึ้นเองได้ภายใต้บรรยากาศโลกยุคดึกดำบรรพ์
การทดลองของสแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller)
อย่างไรก็ตาม ผ่านมากว่าครึ่งศตวรรษจากการทดลองของมิลเลอร์
ก็ยังไม่สามารถสรุปว่าสิ่งมีชีวิตสามารถผุดบังเกิดได้เองในโลกนี้ได้จริงหรือไม่ เพราะสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในขวดแก้วของมิลเลอร์นั้นเรียบง่าย และห่างไกลจากคำว่า
“สิ่งมีชีวิต” การทดลองของเขาจัดอยู่ในกลุ่ม Inevitablilist
(เลี่ยงไม่ได้ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน) กลุ่มนี้เป็นพวกที่มีทฤษฎีหนาแน่นแต่ขาดซึ่งหลักฐาน
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น